วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลักการพึงตนเอง โดย ท่าน ป.อ.ปยุตฺโต

มนุษย์ประเสริฐก็ฝึกได้ โดย ท่าน ป.อ.ปยุตฺโต

ทำอยู่กับปัจจุบัน โดย ท่าน ป.อ.ปยุตฺโต

ยกย่องคนดี โดย ท่าน ป.อ.ปยุตฺโต

ความเพียรชนะโชคชะตา โดย ท่าน ป.อ. ปยุตโต

ข้อคิดธรรมมะ ตอนที่ 1

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

1.    ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจานอย่างจริงใจ
2.    อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใดนอกจาก ปัญญา และความกล้าหาญ
3.    เพื่อนใหม่ คือ ของขวัญที่ให้กับตนเอง ส่วนเพื่อนเก่า/มิตร คือ อัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4.    ปฏิบัติต่อคนอื่น เช่นเดียวกับอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อเรา
5.    พูดคำว่า ขอบคุณให้มากๆ
6.    รักษา ความลับ ให้เป็น
7.    ประเมินคุณค่าของการให้ อภัย ให้สูง
8.    ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
9.    หากล้มลงอย่ากลัวการลุกขึ้นใหม่
10.  เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก คิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
11.  อย่างเถียงธุรกิจในลิฟต์
12.  ใช้บัตรเครดิตเพื่อนความสุดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
13.  อย่างหยิ่งหากจะกล่าวว่าขอโทษ
14.  อย่าอายหากจะบอกใครว่า ไม่รู้
15.  ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
16.  เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป
17.  การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
18.  คนไม่รักเงิน คือ คนไม่รักชีวิต ไม่รักอนาคต
19.  ยามทะเลาะกันผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่นสอนมาดี
20.  จงอย่าให้จุดแข็งเอาชนะจุดอ่อน
21.  เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
22.  เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จ กับความล้มเหลว
23.  อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆเกิดขึ้นล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น
24.  ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
25.  ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อๆ ไปก็ผิดหมด
26.  จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
27.  ดาวและเดือนที่อยู่สูงอยากได้ ต้องปีนบันไดสูง

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การ์ตูนธรรมะตอนที่ 5

การ์ตูนธรรมะ อนิจจัง ทุขขัง อนัตตา

การ์ตูนธรรมะตอนที่ 4

การ์ตูนธรรมะ เรื่องกิ๊ก

การ์ตูนธรรมะตอนที่ 3

การ์ตูนธรรมะตอนที่ 2

การ์ตูนธรรมะ เรื่องอยากใกล้หลวงพี่

การ์ตูนธรรมะตอนที่ 1

การ์ตูนธรรมะ เรื่อง ไม่ผิดศีลเหรอ

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 6

พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

วันหนึ่ง อาจารย์อันโช ไปเยี่ยม อาจารย์ตานซาน กำลังดื่มอยู่พอดี อาจารย์ตานซาน ก็ถามว่า จะไม่ดื่มบ้าง เทียวหรือ คือกล่าวชักชวน ให้ดื่ม นั่นเอง อันโชก็ บอกว่า ไม่เคยดื่มเลย ตานซานก็ว่า คนที่ไม่เคยดื่ม เลยนั้นน่ะ ไม่ใช่คน ฝ่ายอันโช ก็ฉุนกึก นิ่งเงียบไป ขณะหนึ่ง ในที่สุด พูดขึ้นมาได้ว่า ท่านว่าฉันไม่ใช่คน เพราะเพียงแต่ฉันไม่ดื่ม ถ้าฉันไม่ใช่คนแล้ว ฉันจะเป็นอะไร อาจารย์ตานซาน ก็บอกว่า เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แล้วนิทานของเขาก็จบ
นี่เราจะฟังเป็นเรื่อง การโต้ตอบ ด้วยโวหาร ก็ได้ แต่ความจริง มันเป็นเรื่อง ที่มุ่งหมาย จะสอน ตามแบบวิธีของเขา ที่ให้คนสำนึกว่า คนนั้น ยังไม่เป็น พระพุทธเจ้า คนหนึ่ง ต่างหาก ที่ว่าเป็น พระพุทธเจ้า คนหนึ่ง ก็เพื่อจะสอนให้รู้ว่า ยังไม่เป็น พระพุทธเจ้า เลยมากกว่า ซึ่งทำให้ อาจารย์ คนนั้น ก็ชงักกึก ไปอีก เหมือนกัน เพราะมันก็รู้ตัวอยู่ว่า เราก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า สักที แล้วเราก็ ไม่ใช่เป็นคนแล้ว มันจะเป็นอะไรกัน คนก็ไม่เป็น พระพุทธเจ้าก็ไม่เป็น แล้วเป็นอะไร
ฉะนั้น เราเองก็เหมือนกัน เราเป็นครู ตามอุดมคติ หรือยัง หรือว่า ถ้าไม่เป็นครู มันก็ไม่ใช่ครู ถ้าเป็นครู ก็ต้องเป็นครู และการที่เขาว่า เราไม่ใช่คน เราไม่ควรจะโกรธเลย หรือแม้ว่า ครูจะถูกกล่าวหาว่า อย่างนั้น อย่างนี้ เราก็ไม่โกรธ ถ้าจะพูดถึง พุทธะตามแบบ นิกายเซ็น ก็คือว่า ถ้าเรายังเป็นครู ตามอุดมคติ ไม่ได้ เราก็ยังเป็น พุทธะ ไม่ได้ อยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจะพยายาม ทำตน ไม่ให้เป็น อะไรเลย ให้มีจิตว่าง ไม่รู้สึกเป็นอะไรเลย ซึ่งหมายความว่า ให้อยู่เหนือ การถูกว่า หรือเขาว่ามา มันก็ไม่ถูก เราเป็นชนิดนั้น กันจะดีไหม คือว่า เราเป็นอะไร อย่างหนึ่ง ซึ่งใครจะว่าอะไร อย่างไรมา มันก็ไม่ถูกเรา มันก็คงไม่มีอะไร นอกจากเราเป็น “ว่างจากตัวเรา” ถ้าเราเป็นอย่างนี้ มันก็จะเป็นอย่างภูเขา ซึ่งลมจะพัดมา กี่ทิศกี่ทาง ก็ไม่สามารถ ทำให้ ภูเขา หวั่นไหวได้
ในบาลี มีคำกล่าวอยู่ ถ้าภูเขาเป็นหินแท่งหนึ่ง ฝังอยู่ในดิน ๑๖ ศอก โผล่อยู่บนดิน ๑๖ ศอก ลมไหนจะพัดให้หวั่นไหวได้ ถ้าเราว่างจาก ความยึดมั่นถือมั่น ว่าเรามีเกียรติ อย่างนั้นอย่างนี้ เราเป็นอะไร อย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนั้นแหละ เราจะเป็นบุคคล ที่ลมไหน พัดมาก็ไม่ถูก


นิทานเรื่องที่ ๗ ของเขามีว่า นิทานเรื่องนี้ ชื่อเรื่อง “พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง” ในนครโตเกียว สมัยศักราชเมจิ มีอาจารย์ที่เก่งๆ อยู่สองคน คนหนึ่ง ชื่อ อันโช เป็นครูบาอาจารย์ ในนิกาย ชินงอน คนนี้ ไม่ดื่มเลย อีกคนหนึ่ง ชื่อ แตนแซน หรือ ตานซาน ก็แล้วแต่จะเรียก เป็น ครูบาอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่เคยถือศีลเลย จึงดื่มจัด หรือ ละโมบ ในการบริโภค
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 5

อย่างนั้นหรือ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง อย่างนั้นหรือ

ต่อมา เด็กคลอดออกมาจากครรภ์ บิดามารดาที่เป็นตายาย ของเด็ก ก็เอาเด็กไปทิ้งไว้ให้ ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน ในฐานะเป็นการประชด หรือ อะไรก็สุดแท้ ว่า “แกต้องเลี้ยงเด็กคนนี้” ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน ก็มีแต่ “Is that so?” ตามเคย ท่านรับเด็กไว้ และต้องหานม หาอาหาร ของเด็กอ่อนนั้น จากบุคคลบางคน ที่ยังเห็นอก เห็นใจ ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน อยู่ พอเลี้ยงเด็กนั้น ให้รอดชีวิต เติบโตอยู่ได้ ทีนี้ ต่อมานานเข้า หญิงคนที่เป็นมารดา ของเด็ก เหลือที่จะทนได้ มันเหมือนกับไฟนรก เข้าไปสุมอยู่ในใจ เพราะเขาไม่ได้พูดความจริง ฉะนั้น วันหนึ่ง เขาจึงไปสารภาพ บอกกับบิดามารดาของเขาว่า บิดาที่แท้จริง ของเด็กนั้น คือ เจ้าหนุ่มร้านขายปลา ทีนี้ บิดามารดา ตายายคู่นั้น ก็มีจิตใจ เหมือนกับ นรกเผาอยู่ข้างใน อีกครั้งหนึ่ง รีบวิ่งไปที่วัด ไปขอโทษ ขอโพย ต่ออาจารย์เฮ็กกูอิน ขอแล้ว ขอเล่าๆ เท่าที่จะรู้สึกว่า เขามีความผิด มากอย่างไร ก็ขอกัน มากมาย อย่างนั้น ท่านก็ไม่มีอะไร นอกจาก Is that so? แล้วก็ขอ หลานคนนั้น คืนไป ต่อมา พวกชาวบ้าน ที่เคยไปด่า ท่านอาจารย์ ก็แห่กันไป ขอโทษอีก เพราะความจริง ปรากฏขึ้น เช่นนี้ ขอกันใหญ่ ไม่รู้กี่สิบคน ขอกันนานเท่าไร ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด นอกจาก Is that  so? อีกนั่นเอง เรื่องของเขาก็จบเท่านี้
นิทานเรื่องนี้ จะสอนว่าอย่างไร เราถือว่า นิทานชุดนี้ ก็เหมือนกับ นิทานอิสป ในทางวิญญาณ ในทาง Spiritual point of view นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร นั้นหรือ มันก็เหมือนกับ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “นตฺถิ โลเก รโห นาม” และ “นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต” “การไม่ถูนินทา ไม่มีในโลก” หรืออะไรทำนองนี้ แต่ท่านทั้งหลาย ลองเปรียบเทียบ ดูทีหรือว่า ถ้าพวกครูบาอาจารย์ ของเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกกระทำ อย่างท่านอาจารย์เฮ็กกูอิน ท่านจะเป็นอย่างนี้ได้ไหม คือจะ Is that so? คำเดียว อยู่ได้ไหม ถ้าได้ เรื่องนี้ ก็คงจะไม่เป็น อย่างที่กำลังเป็นอยู่ คือ คงจะไม่ถูกฟ้องว่า ตีเด็กเกินควร หรือ อะไรทำนองนั้น ต้องไปถึงศาลก็มี อาตมาเคยเห็น ครูที่บ้านนอก ต้องไปพูด กันถึงโรงถึงศาลก็มี เพราะตีเด็กเกินควร เป็นต้น นี่คือ มันหวั่นไหว ต่ออารมณ์มากเกินไป จนกระทั่ง เด็กเล็กๆ ก็ทำให้โกรธได้ ที่เรื่องนิดเดียว ก็ยังโกรธได้นี่ เพราะว่า ไม่ยึดถือความจริง เป็นหลักอยู่ในใจ มันจึงไหวไปตามอารมณ์ โกรธมาก กลัวมาก เกลียดมาก ล้วนแต่เป็นอารมณ์ร้ายไปเสียทั้งนั้น ทำไมไม่คิดว่า มันไม่ใช่ เรื่องราวอะไรมากมาย มันไม่ใช่ เป็นไปตามเสียงส่วนมาก ที่ยืนยันว่า อันนั้น ต้องเป็นอันนั้นจริง ความจริง มันต้องเป็นความจริง ถ้าจะมีอุเบกขา ก็ควรจะมีอุเบกขาอย่างนี้ ไม่ใช่ อุเบกขาผิดอย่างอื่น ฉะนั้น เราควรจะฟังของเขาไว้


นิทานที่ สาม ชื่อเรื่อง “Is that so?” ท่านลองแปลเอาเองว่า อย่างไรมัน ก็คล้ายๆ กับว่า “อย่างนั้นหรือ?” นิทานที่สามนี้ เล่าว่า ณ สำนักเซ็น ของอาจารย์ เฮ็กกูอิน ซึ่งเป็นวัดที่เลื่องลือมาก เป็นเหมือนกับว่า เป็นที่พึ่งของหมู่บ้าน ที่ร้านชำใกล้ๆ วัดนั้น มีหญิงสาวสวย คนหนึ่ง เป็นลูกเจ้าของร้าน ทีนี้ โดยกะทันหัน ปรากฏว่า มีครรภ์ขึ้นมา พ่อแม่เขา พยายาม ขยั้นขยอ ถาม ลูกสาวก็ไม่บอก แต่เมื่อ ถูกบีบคั้น หนักเข้า ก็ระบุชื่อ ท่านอาจารย์ เฮ็กกูอิน เมื่อหญิงสาวคนนั้น ระบุ อาจารย์เฮ็กกูอิน เป็นบิดาของเด็ก ที่อยู่ในครรภ์ พ่อแม่โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ ไปที่วัด แล้วก็ไปด่า ท่านอาจารย์เฮ็กกูอิน ด้วยสำนวนโวหาร ของคนที่โกรธที่สุด ที่จะด่าได้อย่างไร ท่านอาจารย์ไม่มีอะไรจะพูด นอกจากว่า “Is that so?” คือ ว่า “อย่างนั้นหรือ” สองคนด่าจนเหนื่อย ไม่มีเสียงจะด่า ไม่มีแรงจะด่า ก็กลับไปบ้านเอง ทีนี้ พวกชาวบ้าน ที่เคยเคารพนับถือ ก็พากันไปด่า ว่าเสียที ที่เคยนับถือ อย่างนั้น อย่างนี้ ท่านก็ไม่มีประโยคอะไรที่จะพูด นอกจากว่า “Is that so?” พวกเด็กๆ ก็ยังพากันไปด่าว่า พระบ้า พระอะไร สุดแท้แต่ ที่จะด่าได้ ตามภาษาเด็ก ท่านก็ว่า “Is that so?” ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 4

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 3

ความเชื่อฟัง โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ความเชื่อฟัง


นิทานเรื่องที่สี่ เรียกว่า เรื่อง “ความเชื่อฟัง” ธฺยานาจารย์ ชื่อ เบ็งกะอี เป็นผู้มีชื่อเสียง ในการเทศนาธรรม คนที่มาฟังท่านนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ ในวงของ พวกนิกายเซ็น พวกนิกายอื่น หรือคนสังคมอื่น ก็มาฟังกัน ชนชั้นไหนๆ ก็ยังมาฟัง เพราะว่า ท่านไม่ได้เอา ถ้อยคำในพระคัมภีร์ หรือในหนังสือ หรือ ในพระไตรปิฎก มาพูด แต่ว่าคำพูด ทุกคำนั้น มันหลั่งไหล ออกมาจาก ความรู้สึกในใจ ของท่านเองแท้ๆ ผลมันจึงเกิดว่า คนฟังเข้าใจ หรือชอบใจ แห่กันมาฟัง จนทำให้ วัดอื่น ร่อยหรอ คนฟัง เป็นเหตุให้ ภิกษุรูปหนึ่ง ในนิกาย นิชิเรน โกรธมาก คิดจะทำลายล้าง อาจารย์เบ็กกะอี คนนี้อยู่เสมอ วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านองค์นี้ กำลังแสดงธรรม อยู่ในที่ประชุม พระที่เห็นแก่ตัวจัด องค์นั้น ก็มาทีเดียว หยุดยืน อยู่หน้าศาลา แล้วตะโกนว่า เฮ้ย! อาจารย์เซ็น หยุด ประเดี๋ยวก่อน ฟังฉันก่อน ใครก็ตาม ที่เคารพท่าน ท่านจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ฉัน เคารพเชื่อฟังท่านได้ เมื่อภิกษุอวดดี องค์นั้น ร้องท้า ไปตั้งแต่ ชายคาริมศาลา ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็ว่า มาซี ขึ้นมานี่ มายืนข้างๆฉันซี แล้วฉันจะทำให้ดูว่า จะทำอย่างไร พระภิกษุนั้น ก็ก้าว พรวดพราด ขึ้นไป ด้วยความทะนงใจ ฝ่าฝูงคน เข้าไป ยืนหรา อยู่ข้างๆ ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็ว่า ยังไม่เหมาะ มายืนข้างซ้าย ดีกว่า พระองค์นั้น ก็ผลุนมาทีเดียว มาอยู่ข้างซ้าย ท่านอาจารย์เบ็งกะอี ก็บอกอีกว่า อ๋อ! ถ้าจะพูดให้ถนัด ต้องอย่างนี้ ต้องข้างขวา ข้างขวา พระองค์นั้น ก็ผลุนมาทางขวา พร้อมกับมีท่าทาง ผยองอย่างยิ่ง พร้อมที่จะท้าทาย อยู่เสมอ ท่านอาจารย์เบ็งกะอีจึงว่า เห็นไหมล่ะ ท่านกำลัง เชื่อฟังฉันอย่างยิ่ง และในฐานะ ที่ท่านเชื่อฟัง อย่างยิ่งแล้ว ฉะนั้น ท่านจงนั่งลง ฟังเทศน์เถิด นี่เรื่องก็จบลง
นิทานอิสปเรื่องนี้ มันสอนว่าอย่างไร เหมือนพระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า นิวาโต เอตมฺมงฺคลมุตตมํ วาโต ก็เหมือนกะ สูบลมอัดเบ่งจนพอง ถ้า นิวาโต ก็คือ ไม่พองไม่ผยอง เป็นมงคลอย่างยิ่ง ข้อนี้ ย่อมแสดงว่า มีวิชาความรู้ อย่างเดียว นั้นไม่พอ ยังต้องการ ไหวพริบ และ ปฏิภาณ อีกส่วนหนึ่ง พระองค์นี้ ก็เก่งกาจ ของ นิกายนิชิเรน ในญี่ปุ่น แต่มาพ่ายแพ้อาจารย์ ที่แทบจะไม่รู้หนังสือ เช่นนี้ ซึ่งพูดอะไร ก็ไม่อาศัยหนังสือ เพราะบางที ก็ไม่รู้หนังสือเลย แพ้อย่างสนิทสนม เพราะขาดอะไร ก็ลองคิดดู พวกฝรั่งก็ยังพูดว่า Be wise in time ฉลาดให้ทันเวลา โดยกระทันทัน ซึ่งบาลีก็มีว่า “ขโณ มา โว อุปจฺจคา” ขณะสำคัญ เพียงนิดหนึ่ง นิดเดียวเท่านั้น อย่าได้ผ่านไปเสียนะ ถ้าผ่านไป จะต้องมีอย่างยิ่ง มิฉะนั้น จะควบคุมเด็ก ไม่อยู่ เราลองคิดดูซิว่า เด็กๆของเรา มีปฏิภาณเท่าไร เราเองมี ปฏิภาณเท่าไร มันจะสู้กัน ได้ไหม ลองเทียบไอคิว ในเรื่องนี้ กันดู ซึ่งเกี่ยวกับ ปฏิภาณนี้ ถ้าครูบาอาจารย์เรา มีไอคิว ในปฏิภาณนี้ ๕ เท่าของเด็กๆ คือ เหนือเด็ก ห้าเท่าตัว ก็ควรจะได้รับเงินเดือน ห้าเท่าตัว ของที่ควรจะได้รับ หรือว่าใครอยากจะเอา สักกี่เท่า ก็เร่งเพิ่มมันขึ้น ให้มีปฏิภาณไหวพริบ จนสามารถ สอนเด็ก ให้เข้าใจ เรื่องกรรม เรื่องอนัตตา เรื่องนิพพาน ได้อย่างไรทีเดียว นี่คือ ข้อที่จะต้อง อาศัยปฏิภาณ ซึ่งวันหลัง ก็คงจะได้พูดกัน ถึงเรื่องนี้บ้าง.
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 2

นิทาน ธรรมมะ ของท่านพุทธทาส ตอนที่ 1

เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก


นิทานสุดท้าย ที่อยากจะเล่า ก็คือ เรื่อง เกี่ยวกับเซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก ตามชื่อ ของหนังสือ เล่มหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า “เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก” คือ หนังสือ ที่เอามา เล่านิทาน ให้ฟัง นี้เอง ควรจะทราบ ถึงคำว่า เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก ด้วยจะง่าย ในการเข้าใจ เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก หมายความว่า ธรรมะ ชั้นที่เป็นเนื้อ เป็นกระดูก ยังไม่ถึง เยื่อในกระดูก ธรรมะชั้นลึกจริงๆ จัดเป็น ชั้นเยื่อในกระดูก นี่เราจะเล่ากัน แต่เรื่อง ชั้นเนื้อ และชั้นกระดูก หมายความว่า ในนั้นมันมี ชั้นเยื่อในกระดูก อีกทีหนึ่ง ถ้าเข้าไม่ถึง มันก็ติดอยู่ แค่เนื้อแค่กระดูก เหมือนที่ เราไม่เข้าถึง หัวใจ ของ พระพุทธศาสนา แล้วก็คุยโวอยู่ ซึ่งมันเป็น ชั้นเนื้อ ชั้นกระดูก ทั้งนั้น ไม่ใช่ ชั้นเยื่อในกระดูกเลย และเมื่อจะพูดกัน ถึงเรื่องนี้ เขาเล่า นิทาน ประวัติ ตอนหนึ่ง ของ ท่านโพธิธรรม คือ อาจารย์ ชาวอินเดีย ที่ไป ประเทศจีน ที่ไป ประดิษฐาน พระพุทธศาสนา นิกายธยานะ ลงไปใน ประเทศจีน ซึ่งต่อมา เรียกว่า นิกายเซ็น ญี่ปุ่นเรียกว่า เซ็น หรือภาษาจีน เรียกว่า เสี่ยง
เมื่อท่านโพธิธรรม อยู่ในประเทศจีน นานถึง ๙ ปี ท่านก็อยากจะ กลับอินเดีย ทีนี้ไหนๆ จะกลับทั้งที อยากจะลอง สอบดูว่า บรรดาศิษย์ ต่างๆ ที่สอนไว้ที่นี่ ใครจะรู้อะไร กี่มากน้อย ก็เลยเรียก มาประชุม ถามทำนอง เป็นการสอบไล่ว่า ธรรมะที่แท้จริง นั้นคืออะไร ข้อสอบ มีเพียงสั้นๆว่า “ธรรมะที่แท้จริง นั้นคืออะไร?”
ศิษย์ชั้นหัวหน้าศิษย์ ที่เรียกว่า ศิษย์ชั้นมีปัญญา เฉียบแหลม ชื่อ ดูโฟกุ ก็พูดขึ้นว่า “ที่อยู่ เหนือ การยอมรับ และ อยู่เหนือ การปฏิเสธ นั้นแหละ คือ ธรรมะ ที่แท้จริง” คำตอบอย่างนี้ ก็ถูกมากแล้ว ถ้า ผู้ใดฟัง ไม่เข้าใจเรื่องนี้ พึงจัดตัวเองว่า เป็นผู้ที่ ยังไม่รู้ธรรมะได้เลย ไม่รู้ธรรมะ อะไรเลยก็ว่าได้ ถ้าไม่รู้จัก สิ่งที่เหนือ การยอมรับ และการปฏิเสธ
ท่านอาจารย์ ก็บอกว่า “เอ้า! ถูก! แกได้ หนัง ของฉันไป” นี้ หมายถึง หนังที่หุ้มชั้นนอก ไม่ใช่เนื้อ ไม่ใช่กระดูก คือ ชั้นหนังแท้ๆ เสร็จแล้ว คนนี้ นั่งลง
นางชีคนที่ชื่อ โซจิ ก็ยืนขึ้น แล้วบอกว่า “สิ่งที่เห็นครั้งเดียว แล้วเป็น เห็นหมด เห็นตลอดกาล นั่นแหละ คือธรรมะแท้จริง”
ท่านอาจารย์ ก็บอกว่า “ เอ้า! ถูก! แกได้ เนื้อ ของฉันไป” คือมัน ถูกกว่า คนทีแรก จึงได้เนื้อไป แล้วเขาก็นั่งลง
คนที่สาม ยืนขึ้น ตอบว่า “ที่ไม่มีอะไรเลย นั่นแหละ คือ ธรรมะ” เขาใช้คำว่า ไม่มีอะไรเลย เท่านั้น แต่เรา ขยายความ ออกไป ก็ได้ว่า ไม่มีอะไร ที่ถือ เป็นตัวตน เลย นั่นแหละ คือธรรมะแท้จริง
อาจารย์ ก็บอกว่า “ถูก! แกได้ กระดูก ของฉันไป” คือ ลึกถึง ชั้นกระดูก
ศิษย์อีกคนหนึ่ง เป็นศิษย์ก้นกุฎิ ชื่อ เอก้า ยืนขึ้น หุบปากนิ่ง แล้วยัง เม้มลึก เข้าไป ซึ่งแสดงว่า นิ่งอย่างที่สุด เป็นการแสดงแก่อาจารย์ว่า นี่แหละ คือ ธรรมะ การที่ต้อง หุบปาก อย่างนี้แหละ คือธรรมะ อาจารย์ ก็ว่า “เออ! แกได้ เยื่อในกระดูก ของฉันไป”
นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร บรรดา ครูอาจารย์ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่มี สติปัญญา ได้ศึกษา เล่าเรียน มามาก จงลองคิดดู คำตอบที่ว่า อยู่เหนือ การยอมรับ และปฏิเสธนั้น ยังถูกน้อยกว่า คนอื่น ส่วนผู้ที่ตอบว่า ลงเห็นทีเดียวแล้ว เห็นหมด และ เห็นตลอดกาล ด้วย นี่ยังถูกกว่า แล้วที่ว่า ไม่มีอะไรเลยนั้น ยิ่งถูกไปกว่าอีก แล้วที่ถึงกับว่า มันพูดอะไรออกมาไม่ได้ มันแสดงออกมาเป็น คำพูด ไม่ได้ จนถึงหุบปากนิ่งนี้ ยิ่งถูกกว่าไปอีก นี่แหละ พวกเรามี สติปัญญา ละเอียด สุขุม แยบคาย มีความสำรวม ระมัดระวัง สงบอกสงบใจมาก จนถึงกับว่า ไม่หวั่นไหว และเข้าใจ เรื่องไม่หวั่นไหว หรือไม่มีอะไรนี้ได้หรือไม่ ขอให้ลองคิดดู ถึงจะยังทำเดี๋ยวนี้ไม่ได้ ก็ขอให้เข้าใจว่า แนวของมัน เป็นอย่างนั้น คนที่รู้ อะไรจริงๆ แล้ว จะไม่พูดอะไรเลย เพราะรู้ซึ้ง ถึงขนาดที่อยู่ เหนือวิสัย ของการบรรยาย ด้วยคำพูด อย่างที่ เล่าจื้อ ว่า “คนรู้ไม่พูด คนที่พูด นั้นไม่ใช่ คนรู้” นี่ก็หมายถึง ตัวธรรมะจริงๆ นั้น มันพูดไม่ได้ ถึงแม้ ที่อาตมา กำลังพูด อยู่นี่ ก็เหมือนกัน ยังไม่ใช่ธรรมะจริง เพราะมันยังเป็น ธรรมะที่พูดได้ เอามาพูดได้ ลองทบทวนดูว่า ท่านเคยเข้าใจ ซึมซาบ ในความจริง หรือ ในทฤษฎีอะไร อย่างลึกซึ้ง จนท่านรู้สึกว่า ท่านไม่อาจ บรรยาย ความรู้สึก อันนั้น ออกมา ให้ผู้อื่นฟัง ได้จริงๆ บ้างไหม? ถ้าเคย ก็แปลว่า ท่านจะเข้าใจถึง สิ่งที่พูด เป็นคำพูด ไม่ได้
ธรรมะจริง มันพูดไม่ได้ ต้องแสดงด้วย อาการ หุบปาก แต่ขอให้ถือว่า เรากำลังพูดกัน ถึงเรื่องวิธี หรือ หนทาง ที่จะเข้าถึงธรรมะจริง ก็แล้วกัน แต่ว่า เมื่อเข้าถึงธรรมะจริง แล้ว มันเป็นเรื่อง ที่จะต้อง หุบปาก แต่ถึงกระนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ จะต้องถึงเข้า ข้างหน้า เป็นแน่นอน ไม่มี ครูบาอาจารย์ คนไหน จะมีอายุเท่านี้ อยู่เรื่อยไป คงจะเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนเฒ่า คนแก่ เห็นโลก ในด้านลึก เห็นชีวิต ด้านลึก โดยสิ้นเชิง เป็นแน่ ฉะนั้นจึงควร เตรียมตัว ที่จะเข้าถึง แนวของ ธรรมะ เสียแต่ป่านนี้ จะไม่ขาดทุน และก็ไม่ใช่ว่า เป็นเรื่องเศร้า หรือ เป็นเรื่องน่าเบื่อ จนเกินไป
ในที่สุด เราจะต้องมานึกกัน ถึงเรื่อง เปลือก และ เนื้อ บ้าง นิทาน ทั้งหลายนั้น มันเหมือนเปลือก ส่วน spirit ของนิทานนั้น เหมือนกับเนื้อใน แต่ว่า เปลือกกับเนื้อ จะต้องไปด้วยกัน ครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย อย่าได้เกลียด เปลือก และ อย่า ได้ยึดมั่น ถือมั่น เอาแต่เนื้อ มันจะเน่าไปหมด ข้อนี้หมายความว่า ถ้าเนื้อไม่มีเปลือก มันจะเน่า จะต้องเป็นเนื้อที่เน่า เนื้อที่มีเปลือก เท่านั้น ที่จะไม่เน่า เหมือนอย่างผลไม้ ถ้าไม่มีเปลือก เนื้อมันจะอยู่ได้อย่างไร จะเป็นมังคุด ทุเรียนอะไรก็ตาม ถ้ามันไม่มีเปลือก ของมัน เนื้อของมันจะอยู่ได้อย่างไร จะสำเร็จประโยชน์ ในการบริโภคของเราได้อย่างไร ทั้งที่เราต้องการบริโภคเนื้อ เปลือกของมัน ก็ต้องมี หรือว่า การที่ผลไม้มันจะออกมาจากต้น มีดอกแล้ว จะเป็นลูก มันยังต้อง เอาเปลือกออกก่อน เพื่อให้เนื้อ อาศัยอยู่ในเปลือก แล้วเจริญขึ้น ถ้าไม่มีเปลือก ส่งเนื้อ ออกมาก่อน มันก็เป็นต้นไม้ ที่โง่อย่างยิ่ง คือ มันจะเป็นผลไม้ขึ้นมาไม่ได้ เพราะเยื่อนั้น จะต้องเป็นอันตราย ไปด้วย แสงแดด ด้วยลม ด้วยอะไรต่างๆ หรือ มดแมลง อะไรก็ตาม ฉะนั้น มันต้องมีเปลือก ที่แน่นหนา เกิดขึ้นก่อน เนื้อเจริญขึ้น ในนั้น ก็เป็นผลไม้ ที่เติบโต แก่ สุก บริโภคได้ นั่นคือ คุณค่าของเปลือก มองดูอีกแง่หนึ่ง มันก็ยิ่งกว่าเนื้อ มันมีค่า มากกว่า เนื้อก็ได้ เพราะ มันทำให้ เนื้อ เกิดขึ้นได้ สำเร็จประโยชน์ แต่เราก็ ไม่มีใคร กินเปลือก เพราะ ต้องการจะ กินเนื้อ ฉะนั้น เราจะต้องจัด เปลือก และ เนื้อให้ กลมกลืน กันไป
นิทานอิสป หรือ นิทานอะไรก็ตาม ตัวนิทาน มันเหมือนกันกับ เปลือก ที่จะรักษา เนื้อใน ไว้ ให้คงอยู่ มาจนถึงบัดนี้ได้ ถ้าไม่ใส่ไว้ ในนิทานแล้ว ความคิดอันลึกล้ำ ของอิสป อาจจะไม่มาถึงเรา มันสูญเสีย ก่อนนานแล้ว และ จะไม่มีใคร สามารถ รับช่วงความคิด นั้นมาถึงเรา เพราะว่า เขาไม่มี การขีด การเขียน ในสมัยนั้น หรือว่า เอาตัวอย่างกัน เดี๋ยวนี้ว่า ชนชาติเอสกิโม ทางแลปแลนด์ ทางขั้วโลกเหนือนั้น ก็ยังมีวัฒนธรรม หรืออะไรของเขา เล่าต่อกันมา เป็นพันๆปี ยังพูด ยังเล่า ยังสอนกันอยู่ ชนพวกนี้ ไม่มีหนังสือเลย เดี๋ยวนี้ก็ยัง ไม่มีหนังสือ พวกเอสกิโม อยู่ใน “อิกลู” หรือ กระท่อม ที่ทำขึ้นด้วย แท่งน้ำแข็ง แต่พอถึง เย็นค่ำลง ก็จุดตะเกียง เข้าใน กระท่อม แล้วคนที่แก่ ชั้นปู่ ก็นั่งลง เล่าสิ่งต่างๆ ที่ได้ยิน มาจาก บิดา จากปู่ จากทวด เด็กเล็กๆ ก็มา นั่งล้อม และ ฟัง ไม่ใช่ฟังเฉยๆ จำด้วย ทำอย่างนี้ไป เรื่อยทุกวันๆ จนเด็กเหล่านี้ โตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ เป็นบิดา เป็นปู่ ก็ยังเล่าต่อไปอีก ฉะนั้น จึงสืบสิ่งต่างๆ ไปได้เป็นพันๆ ปี แล้วก็อยู่ใน “เปลือก” คือนิทานทั้งนั้น เขาจะต้อง เล่าเป็นนิทาน อย่างนั้น ชื่อนั้น ที่นั่น อย่างนั้นๆ ทั้งนั้น นั่นแหละ คือ อานิสงฆ์ ของเปลือก. 
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา

ธรรมะสอนใจประจำวันอาทิตย์

ธรรมะสอนใจประจำวันเสาร์

ธรรมะสอนใจประจำวันศุกร์

ธรรมะสอนใจประจำวันพฤหัสบดี

ธรรมะสอนใจประจำวันพุธ

ธรรมะสอนใจประจำวันอังคาร

ธรรมะสอนใจประจำวันจันทร์